darjeeling ดาจีลิ่ง สิกขิม sikkim mystery and wonder himalaya is calling you

Posted on
darjeeling , sikkim , himalayas,virgovirgin,art of travel,natural,wonderful,beautiful, incredible india

DARJEELING SIKKIM

Darjeeling ดาร์จีลิ่ง ตั้งอยู่บนแนวสันเขาที่ความสูง 2,134 เมตร จากระดับน้ำทะเล ได้ชื่อว่า “ราชินีแห่งขุนเขา” เป็นเมืองที่มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของเมือง สามารถมองเห็นเทือกเขาหิมาลัยทอดตัวยาวเหยียด โดยเฉพาะยอดกันเช็งจุงก้าอันสูงตระหง่านและถูกปกคลุมด้วยหิมะขาวตลอดทั้งปี คำว่า ดาร์จีลิ่ง มีรากฐานมาจากภาษาทิเบตคือคำว่า “ดอร์เจลิง” คำว่า “ดอร์เจ” (Dorja) หมายถึง สายฟ้า คำว่า “ลิง” (ling) หมายถึง สถานที่ ดาร์จีลิ่ง จึงหมายถึง ดินแดนแห่งสายฟ้า ชื่อเสียงของดาร์จีลิงนั้น เป็นที่รู้จักกันดีไปทั่วโลกว่า เป็นแหล่งปลูกและผลิตชาที่ดีที่สุดในโลก ก่อนที่อินเดียจะได้รับเอกราชจากอังกฤษนั้น ดาร์จีลิงเป็นรัฐอิสระที่ยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย และเคยตกอยู่ภายใต้การดูแลของสิกขิมและอังกฤษ โดยอังกฤษได้พัฒนาดาร์จีลิ่งให้เป็นเมืองตากอากาศ และเมืองศูนย์กลางการค้าอีกแห่งหนึ่งในการทำการค้าขายกับทิเบตดาร์จีลิ่งเป็นเมืองที่ผสมผสานความเจริญของโลกตะวันตกที่แผ่ขยายมาในช่วงอินเดียตกเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร บ้านเมืองจึงเต็มไปด้วยตึกรามและอาคารบ้านเรือนที่สร้างตามไหล่เขาในสไตล์ยุโรป แต่บรรยากาศยังคงพลุกพล่านเบียดเสียดยัดเยียดแบบอินเดีย และด้วยวัดแบบทิเบตที่ประยุตก์แล้ว มีศูนย์กลางการศึกษาของชาวอังกฤษที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานความงามของของธรรมชาติคงอยู่กับการเปลี่ยนแปลงจากยุคสมัยแต่หิมาลัยยังคงอยู่นิรันดร์

ทอยเทรน (Toy Train) ทางรถไฟสายเล็กๆ นี้มีชื่อเต็มว่า “ดาร์จีลิ่งหิมาลายันเรลเวย์” (Darjeeling Himalayan Railway) ที่เรียกว่า ทอยเทรน เพราะเป็นรถไฟขนาดเล็กที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำแล่นบนรางเล็กพิเศษเช่นกัน จึงทำให้ดูคล้ายรถไฟของเล่น สร้างขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1879-1881 โดยใช้ระบบเครื่องจักรไอน้ำ ปัจจุบันเป็นหนึ่งในทางรถไฟภูเขาเพียงไม่กี่เส้นทางของอินเดียที่ยังเปิดให้บริการอยู่แล่นระหว่างดาร์จีลิ่งไปยังเมืองสิลิกูริ และองค์การยูเนสโกยังได้ประกาศให้ทางรถไฟสายดาร์จีลิ่งหิมาลายันเรลเลย์นั้นเป็นมรดกโลกอีกด้วย Darjeeling ได้รับการยกย่องว่าเป็นแชมเปญช์แห่งชา เนื่องจากน้ำชามีกลิ่นหอมและรสชาติอ่อนนุ่มดาร์จีลิ่งจึงเป็นชาที่เหมาะสมสำหรับดื่มระหว่างอาหารค่ำหรือการดื่มชาช่วง บ่ายที่สุด ชาดาร์จีลิ่งปลูกมากในแทบเทือกเขาหิมาลัย ส่วนชาเขียวดาร์จีลิ่งซึ่งมีรสชาติเยี่ยมเป็นเอกลักษณ์ หอมอ่อนนุ่ม

ประวัติศาสตร์สิกขิม (Sikkim History) 
ก่อนศตวรรษที่ 18 ประชากรส่วนใหญ่ในสิกขิมเป็นชาวเลปชา ซึ่งอพยพมาจากทิเบต ดังนั้นชาวเผ่ารุ่นแรกๆจะเป็นชนเผ่านัมกยาล สืบเชื้อสายจากมินยักในทิเบต ในปี ค.ศ. 1268 เจ้าชายแห่งนัมกยาล นามว่า คเยบุ มซาได้เสด็จไปช่วยสร้างวัดนิกายศักยะขึ้นในทิเบต และทรงผูกมิตรกับชาวเลปซา นามว่า เตกงเท็ก เมื่อเตกงเท็กเสียชีวิต ชาวเลปชาจึงได้ยกคุรุตาชี โอรสองค์ที่ 4 ขึ้นเป็นช็อกยัล หรือกษัตริย์ ในปี ค.ศ.1642 ปกครองเป็นรัฐอิสระจนถึงปี ค.ศ.1700 ภูฎานได้รุกรานสิกขิม ช็อคยัลจึงได้เสด็จลี้ภัยไป และได้สร้างวัดขึ้นที่เปมารยังเซ และตาชีดิง ทรงคิดประดิษฐ์อักษรเลปชาขึ้น ก่อนที่จะถูกลอบปลงพระชนม์ ในปี ค.ศ. 1717 โดยตามคำบัญชาของเจ้าหญิงเปย์ วอมกโม ผู้ภักดีต่อภูฎาน ในต้นศตวรรษที่ 19 บริษัทอีสต์อินเดีย ได้เข้ามาบุกเบิกเทือกเขาหิมาลัย เพื่อเป็นทางผ่านเพื่อทำการค้ากับทิเบต จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1814 อังกฤษทำสงครามกับเนปาล สิกขิมได้ช่วยอังกฤษ เพื่อเป็นการตอบแทน อังกฤษจึงยกเขตเตรายของเนปาลเป็นการตอบแทน ในปีค.ศ. 1816 พระเจ้าซุกฟุด นัมกยัล ก็ทรงมอบเขาดาร์จีลิ่งให้อังกฤษทำรีสอร์ทเพื่อแสดงไมตรี แต่ไม่นานความสัมพันธ์เริ่มเกิดปัญหาเมื่ออังกฤษยึดเขตเตรายคืน และตั้งต้นเป็นผู้อารักขาอาณาจักรแห่งนี้ ซึ่งในศตวรรษที่ 18 นี้ ได้มีชาวเนปาลจำนวนมากอพยพเข้ามาในอาณาจักรนี้ จนเป็นประชากรส่วนใหญ่ จนกระทั่งต่อมา อินเดียก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษเช่นกัน อินเดียประกาศอิสรภาพอิสระในปี ค.ศ. 1950 จึงทำให้สิกขิมยอมทำสนธิสัญญาเป็นเมืองภายใต้การดูแลของอินเดียแทน ซึ่งช็อกยัล ได้แสดงว่าจะรวมกับอินเดียในระดับหนึ่งเท่านั้น

ในปี ค.ศ. 1975 ประชาชนเกิดการลุกฮือขึ้นมา เพื่อเรียกร้องให้ใช้ระบบประชาธิปไตยแทนระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (โดยได้รับการสนับสนุนจากอินเดีย) เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ระบบการปกครองโดยกษัตริย์ต้องมีอันล้มเลิกไปและส่งผลให้สิกขิมได้กลายเป็นรัฐหนึ่งของประเทศอินเดีย ปัจจุบันสิกขิมมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยือนในแต่ละปีอย่างมากมาย เนื่องจากสิกขิมยังมีธรรมชาติที่บริสุทธิ์ สภาพภูมิประเทศที่สวยงาม และความมีเสถียรภาพการเมืองที่ดี สิกขิม มีที่มาจากคำ 2 คำในภาษาลิมบู (Limbu) คือ คำว่า “Su” หมายถึง ใหม่ และคำว่า “Khyim” ที่หมายถึงพระราชวัง หรือ บ้านเมื่อรวมกันแล้ว สิกขิมจึงหมายความว่า “พระราชวังหรือบ้านหลังใหม่” ซึ่งมีผู้ปกครองคนแรกคือ Phuntsok Namgyal (ส่วนในภาษาทิเบต คำว่า สิกขิมคือ Denjong ซึ่งมีความหมายว่า หุบเขาแห่งข้าว) สิกขิม (Sikkim)เป็นรัฐที่เล็กที่สุดเป็นอันดับสองรองจากรัฐ “กัว” หรือ “โคอา” Goa ในประเทศอินเดียมีพื้นที่ทั้งสิ้น 7,098 ตารางกิโลเมตร และมีเมืองหลวงชื่อว่า “กังต็อก” (Gangtok) ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด(ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสิกขิม) สิกขิมมียอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขา(Khangchendzonga) เดิมมีความสูงถึง 8,598 เมตร ซึ่งคนพื้นเมืองถือเป็นยอดเขาศักดิ์สิทธิ์ เพราะเชื่อกันว่าที่ยอดเขานี้เป็นที่เก็บสัญลักษณ์ทั้ง 5 อย่างของพระเจ้า คือ เงิน ทอง รัตนชาติ และพระคัมภร์ สำหรับยอดเขาคันชังจุงก้าเป็นยอดเขาสูงอันดับ 3 ของโลก รองจากยอดเขาเอเวอเรสต์ที่สูง 8,848 เมตรและ ยอดเขาเคทูที่สูง 8,611 เมตร

อาณาเขตของรัฐสิกขิม 
ด้านตะวันตกติดกับประเทศเนปาล ด้านเหนือและตะวันออก ติดกับทิเบต ตะวันออกเฉียงใต้ติดกับภูฎานด้านทิศใต้ติดกับรัฐเบงกอลตะวันตก ด้วยความที่สิกขิมมีภูมิประเทศที่เป็นภูเขาไม่มีที่ราบจึงทำให้สิกขิมมีสภาพภูมิอากาศเพียง 3 ฤดูคือ ประมาณเดือน มีนาคม – พฤษภาคม ช่วงนี้จะมีดอกกุหลาบพันปีและกล้วยไม้หลากหลายชนิด แข่งกันบานต้อนรับนักท่องเที่ยวเต็มไปหมด ช่วงประมาณเดือน มิถุนายน-กันยายน โดยมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 12-25 องศาเซลเซียส แต่จะเป็นช่วงที่มีมรสุมและมีฝนตกตลอดเวลาด้วยช่วงเดือน ตุลาคม-กุมภาพันธ์ มีอุณหภูมิประมาณ 5-15 องศาเซลเซียส เป็นช่วงที่ท้องฟ้าเปิดและเหมาะสำหรับการเดินป่า แต่อาจจะมีถนนถูกตัดขาดเนื่องจากหิมะตกหนักสิกขิมมีเทศกาลฉลองของวัดรุมเต็ก แสดงระบำหน้ากาก ซึ่งกำหนดขึ้นตามปฏิทินทิเบต เมืองหลวงของสิกขิม ตั้งอยู่ทางด้านล่างของเทือกเขาหิมาลัย เมื่อก่อนเป็นเพียงเมืองเล็กๆ จนกระทั่งได้มีการก่อสร้างวัดเอนเชย์ (Enchey Monostery) ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1840 จึงทำให้กังต็อกกลายมาเป็นเมืองศูนย์กลางสำหรับนักแสวงบุญ และกลายเป็นที่พักระหว่างทางสำคัญระหว่างทิเบตกับอินเดีย หมู่บ้านลาชุง(Lachung)ในอดีต ลาซุงเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างสิกขิมและทิเบตมาก่อน แต่ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นกับทิเบต จึงทำให้มีการปิดเมืองไปนาน เพิ่งจะเปิดเป็นเมืองท่องเที่ยวอีกครั้งเมื่อไม่นานมานี้เอง โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อคือหุบเขายุมถังนักท่องเที่ยวที่มา ช่วงเดือนธันวาคมกุมภาพันธ์อาจจะไม่สามารถขึ้นมาที่หมู่บ้านนี้ได้เนื่องจากหิมะตกหนักทำให้เส้นทางนี้ปิดทะเลสาบฉางโก (Tsomgo Lake) ทะเลสาบขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของสิกขิม ทะเลสาบนี้มีลักษณะคล้ายรูปไข่มีความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ลึกประมาณ 15 เมตรถือเป็นทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดูและชาวพุทธในช่วงหน้าหนาว อากาศหนาวเย็นจนน้ำในทะเลสาบกลายเป็นน้ำแข็ง

♦♦♦♦♦♦

Himalaya where the journey begin life is not a competition each one is on their own journey live according to your choices capacity values and principles